
**นักเรียนจ่าอากาศ**
ผู้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนจ่าอากาศทุกเหล่าทหารมีความเจริญก้าวหน้าในการรับราชการ ตามที่กองทัพอากาศกำหนด มีสิทธิ์สอบเลื่อนฐานะเป็นนายทหารสัญญาบัตรได้ตามคุณสมบัติที่กองทัพอากาศกำหนด
คุณสมบัติของผู้สมัครเข้าเป็นนักเรียนจ่าอากาศ
1. เป็นชายโสด อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี และไม่เกิน 20 ปี ในปีที่จะเข้าเป็นนักเรียนจ่าอากาศ (นับตามปี พ.ศ.)
2. คุณวุฒิของผู้สมัคร
2.1 มัธยมศึกษาตอนปลาย ของกระทรวงศึกษาธิการ หรือเทียบเท่า สำเร็จการศึกษาก่อนปีการศึกษา 2556 มีผลการเรียนเฉลี่ยตลอดหลักสูตรไม่ต่ากว่า 2.00
2.2 กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนสุดท้ายของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว ต้องมีผลการเรียนเฉลี่ยรวม (สัดส่วนผลการเรียนและผลการเรียนระดับชาติ) ไม่ต่ำกว่า 2.00 หรือ
2.3 ประกาศนียบัตรวิชาชีพ มีระดับคะแนนเฉลี่ยสะสม ไม่ต่ากว่า 2.00 หรือ ผู้ที่กาลังศึกษาอยู่ ในภาคเรียนที่ 6 ของหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ที่เมื่อสาเร็จการศึกษาแล้ว ต้องมีระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ากว่า 2.00
3. มีสัญชาติไทย และบิดามารดามีสัญชาติไทยโดยการเกิด (เกิดในประเทศไทย) ถ้าบิดาเป็นนายทหารสัญญาบัตรหรือนายทหารประทวน ซึ่งมีสัญชาติไทยโดยการเกิดแล้ว มารดาจะมิใช่ผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิดก็ได้
4. มีอวัยวะรูปร่าง ลักษณะท่าทาง ขนาดร่างกาย เหมาะสมแก่การเป็นทหาร ไม่เป็นโรค และความพิการของร่างกาย
5. เป็นชายโสด
สมัครทางอินเทอร์เน็ต ที่เว็บไซต์ www.atts.ac.th
ผู้สมัครสอบเข้าเป็นนักเรียนจ่าอากาศ จะต้องเลือกกลุ่มสมัครสอบ (ตามคุณวุฒิ) ตามจำานวนนักเรียนจ่าอากาศที่เข้ารับการศึกษา และเหล่าทหาร ที่เปิดรับสมัครในแต่ละปี เช่น
จบ ม.6 สายวิทย์-คณิต สามารถเลือกเหล่า ต้นหนและอุตุ
จบ ปวช. กศน. สามารถเลือกเหล่า อากาศโยธินและสารวัตร
การทดสอบมีสองขั้นตอน
ขั้นตอนแรก การสอบภาควิชาการ (700 คะแนน )เนื่อหา ม.ปลาย ประกอบด้วย
คณิตศาสตร์ 200 คะแนน
วิทยาศาสตร์ 200 คะแนน
ภาษาอังกฤษ 175 คะแนน
ภาษาไทยและสังคม 125 คะแนน
ขั้นตอนที่สอง สำหรับผู้ที่ผ่านรอบวิชาการ
สอบความถนัดและวิภาววิสัย 100 คะแนน
สอบสัมภาษณ์ 100 คะแนน
สอบพละศึกษา 100 คะแนน
(วิ่ง 1,000 เมตร ว่ายน้ำ 50 เมตร ดึงข้อ ลุกนั่ง ยืนกระดดไกล)

หน้าที่ของทหารเหล่าต่าง ๆ ในกองทัพอากาศ มี 23 เหล่า คือ
1. เหล่าทหารนักบิน มีหน้าที่เป็นนักบินประเภทต่างๆ เช่นนักบินขับไล่ นักบินโจมตี นักบินตรวจการณ์และนักบินทิ้งระเบิด การขนส่งทางอากาศ การลาดตะเวนทางอากาศ หรือ ภาระกิจทางอากาศอื่นๆ เพื่อช่วยเหลือหรือสนับสนุนหน่วยทหารพื้นดิน
2. เหล่าทหารต้นหน มีหน้าที่เกี่ยวกับการเดินอากาศ แนะนำนักบินในเรื่องทิศทางการบิน ประสานกับหอบังคับการบินในขณะที่บินอยู่ในอากาศ
3. เหล่าทหารตรวจการณ์ ทำหน้าที่เกี่ยวกับการตรวจการณ์ทั้งทางอากาศ และ ทางพื้นดิน การลาดตะเวนทางอากาศเพื่อแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาทราบถึงสถานการณ์
4. เหล่าทิ้งระเบิด ทำหน้าที่เกี่ยวกับการทิ้งระเบิด เพื่อทำลายเป้าหมายทางพื้นดิน ตามภารกิจที่ผู้บังคับบัญชากำหนด
5. เหล่าทหารสื่อสาร ทำหน้าที่รับผิดชอบในการจัดหา เก็บรักษา เบิกจ่าย ค้นคว้า สร้างซ่อมตรวจ และ ทดลองให้คำแนะนำเรื่องเกี่ยวกับการสื่อสาร เครื่องมือเครื่องใช้ในการสื่อสาร ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่ในการสื่อสาร
6. เหล่าทหารสรรพาวุธ ทำหน้าที่รับผิดชอบในการจัดหา เก็บรักษา เบิกจ่าย ค้นคว้า สร้าง ซ่อมตรวจ และ ทดลอง กับให้คำแนะนำเกี่ยวกับการสรรพาวุธ เครื่องมือเครื่องใช้การสรรพาวุธ ตลอดจนถึงสงครามเคมี ชีวะ เชื้อโรคและปรมาณู
7. เหล่าทหารอากาศโยธิน ทำหน้าที่รบเพื่อป้องกันสนามบิน สถานที่สำคัญของกองทัพอากาศจากการรุกรานทางพื้นดิน ทางอากาศโดยร่วมกำลังทางอากาศและทางอื่น ๆ
8. เหล่าทหารขนส่ง ทำหน้าที่เกี่ยวกับการขนส่ง รับผิดชอบในการจัดหา เก็บรักษาเบิกจ่าย เครื่องอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ในการขนส่งให้แก่หน่วยต่าง ๆ ในกองทัพอากาศอยู่เสมอ
9. เหล่าทหารสารวัตร ทำหน้าที่ตรวจตรา ควบคุม ข้าราชการกองทัพอากาศ ให้อยู่ในระเบียบวินัยของทหารกับมีหน้าที่รักษาความสงบ รักษาความปลอดภัยให้แก่บุคคลและสถานที่ราชการกองทัพอากาศ
10. เหล่าทหารช่างอากาศ ทำหน้าที่ในการจัดหา เก็บรักษา เบิกจ่ายและซ่อมเครื่องมือ เครื่องยนต์อุปกรณ์การบินต่าง ๆ ของกองทัพอากาศ
11. เหล่าทหารพลาธิการ ทำหน้าที่ในการจัดหา เก็บรักษา เบิกจ่าย เครื่องอุปโภคบริโภค กับการสัมภาระทั้งปวง ตลอดจนเครื่องมือเครื่องใช้ให้แก่หน่วยต่าง ๆ ตามนโยบายกองทัพอากาศ
12. เหล่าทหารช่างโยธา ทำหน้าที่ในการซ่อมสร้างสนามบิน ถนน อาคาร การไฟฟ้า ประปา ให้ใช้ได้ดีอยู่เสมอ ตลอดจนการจัดหา เก็บรักษา เบิกจ่าย เครื่องมือเครื่องใช้ในการนี้ให้แก่หน่วยต่าง ๆ และให้เป็นไปตามนโยบายกองทัพอากาศ
13. เหล่าทหารแผนที่ ทำหน้าที่เกี่ยวกับการทำแผนที่ การสำรวจเส้นทาง การแก้ไข เพิ่มเติมรายละเอียดของตำบลต่าง ๆ ในแผนที่ให้ถูกต้องตามกาลสมัยอยู่เสมอ
14. เหล่าทหารอุตุนิยมวิทยา ทำหน้าที่เกี่ยวกับการอุตุนิยมวิทยา การพยากรณ์อากาศเกี่ยวกับการบิน
15. เหล่าถ่ายรูป ทำหน้าที่เกี่ยวกับการถ่ายรูปทั้งทางพื้นดินและทางอากาศ
16. เหล่าทหารการเงิน ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเงิน การบัญชี การงบประมาณ การตรวจเงิน ตลอดจนการตรวจสอบ ควบคุมการจ่ายเงินให้เป็นไปตามแบบธรรมเนียมของทางราชการ
17. เหล่าพระธรรมนูญ ทำหน้าที่ทางกฎหมายและศาลทหาร
18. เหล่าทหารดุริยางค์ ทำหน้าที่เกี่ยวกับการดุริยางค์ การบรรเลงเพื่อกล่อมขวัญทหารของ กองทัพอากาศ
19. เหล่าทหารสารบรรณ ทำหน้าที่เกี่ยวกับงานสารบรรณและงานธุรการทั่วไปในกองทัพอากาศ
20. เหล่าทหารแพทย์ ทำหน้าที่เกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ค้นคว้าในด้านการแพทย์ วางนโยบายการสุขาภิบาล รับผิดชอบในการจัดหา เก็บรักษา เบิกจ่ายเครื่องเวชภัณฑ์ต่าง ๆ
21. เหล่าทหารพลร่ม ทำหน้าที่เกี่ยวกับการรบพิเศษ การรบแบบกองโจร การช่วยเหลือค้นหาเมื่อมี บ. อุบัติเหตุ
22. เหล่าทหารพัสดุ ทำหน้าที่เกี่ยวกับพัสดุ การจัดหา เก็บรักษา แจกจ่ายพัสดุต่าง ๆ ให้กับหน่วยในกองทัพอากาศ เช่น อะไหล่ บ.
23. เหล่าทหารวิทยาศาสตร์ มีหน้าที่วางแผนอำนวยการ ประสานงาน ให้การศึกษาวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับการสร้างอาวุธยุทธภัณฑ์ที่สำคัญ ซึ่งต้องใช้วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี่สูงดำเนินการเกี่ยวกับ เคมี ชีวะ รังสี และกิจการวิทยาศาสตร์ การใช้เครื่องจักรคำนวณสนับสนุนในการวิจัยระบบอาวุธยุทธภัณฑ์ การส่งกำลังบำรุงและการบริหารงานของกองทัพอากาศให้การสนับสนุนแก่สถานวิจัยของส่วนราชการ และหน่วยงานอื่น ๆ เพื่อนำผลมาใช้ในการสร้างอาวุธยุทธภัณฑ์ ประสานงานกับโรงงานอุตสาหกรรมของส่วนราชการ และหน่วยงานอื่น ๆ เพื่อประโยชน์ในการสร้างอาวุธยุทธภัณฑ์ กับมีหน้าที่ในการศึกษาและควบคุมตรวจตรากิจการในสายวิทยาการเหล่าทหารวิทยาศาสตร์
ดาวโหลดระเบียบการจ่าอากาศ คลิ๊กที่นี่